วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ฉาบ(Cymbal)

          ฉาบ คือเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ทำด้วยโลหะทองเหลือง มีหลายแบบ ทั้งฉาบแบบฝาเดียว และแบบสองฝา   แต่ละแบบยังมีหลายขนาดอีกด้วย  ฉาบแต่ละแบบมีลักษณะการตีแตกต่างกันออกไป   เสียงของฉาบทำให้เกิดความตื่นเต้นเร้าใจ  ความสนุกสนาน  และความอึกทึกครึกโครม ฉาบที่ใช้โดยทั่วๆไปมีดังต่อไปนี้
           
  ฉาบ 2 ฝา (Cymbals)
ใช้บรรเลงในวงดนตรีทั่วๆไป เช่น วงโยธวาทิต วงซิมโฟนิค วงออร์เคสตร้า
 
  ฉาบส่ง (Crash Cymbal)
ลักษณะเป็นฉาบฝาเดียว วางบนขาตั้งฉาบ เสียงดังอึกทึก ตีตอนเริ่มท่อนเพลงใหม่ หรือตอนจบที่ต้องการสีสันแบบสนุกสนาน อึกทึกครึกโครม เร้าใจ
 
  ฉาบไรด์ (Ride Cymbal)
ลักษณะเป็นฉาบฝาเดียว วางบนขาตั้งฉาบ สีสันของเสียงจะบางเบากว่าฉาบส่ง ใช้ตีคลอในบทเพลงเมื่อเวลาต้องการเสียงฉาบให้ดังค้างแบบต่อเนื่อง
 
  ฉาบสแปลช (Splash Cymbal)
ลักษณะเป็นฉาบฝาเดียวขนาดเล็ก วางบนขาตั้งฉาบ ขนาดเล็กประมาณ 9-12 นิ้ว  ใช้ตีในส่วนที่ต้องการเน้นเสียงฉาบ แต่ไม่ต้องการให้ดังแบบอึกทึกครึกโครมเหมือนฉาบส่ง  ทำให้บทเพลงเกิดสีสันที่น่าสนใจ แปลกหู
 
  ฉาบนิ้วมือ (Finger Cymbals)
ลักษณะเป็นฉาบขนาดเล็กคล้ายกับฉิ่งของดนตรีไทย คล้องบนนิ้วมือ ขยับให้เกิดเสียงตามลีลาจังหวะเพื่อประกอบการเต้นระบำ  ใช้มากในประเทศตะวันออกกลาง และอินเดีย
 
  ฉาบไฮแฮท (Hi-Hat Cymbals)
ักษณะเป็นฉาบ 2 ฝา วางประกบกันบนขาตั้งฉาบไฮแฮทโดยเฉพาะ ตีได้ทั้งขณะที่เปิดฝาฉาบทั้งสองแยกออกจากกัน (open hi-hat)  และปิดฝาฉาบให้ชิดกัน(close hi-hat) โดยใช้เท้าเหยียบที่กลไกของขาตั้ง  ฉาบไฮแฮทจะมีรูปแบบการตีที่แน่นอน  แต่ละลีลาจังหวะจะมีการกำหนดลักษณะการตีฉาบไฮแฮทไว้ชัดเจน