วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คณะดำเนินการ

                      โครงการเว็บเพจ สื่อการเรียนรู้วิชา  ศิลปะ  ดนตรีและการแสดงประกอบสื่อ


คณะดำเนินการ


นางสาวทิพย์ทยา   ตาจันทร์   เลขที่ 1 ห้อง ค.11

นางสาวยลดา  โชติสวัสดิ์รักษา  เลขที่ 5 ห้องค.11

นางสาวแคร์ทรียา  ดีเจริญธรรม  เลขที่  25 ห้อง ค.11

ความเป็นมาเครื่องดนตรีสากล

          ดนตรีสากลก่อเกิดเพราะการได้ยินเสียงจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวของมนุษย์ มีการรับรู้ เลียนแบบ ศึกษาจังหวะ ระดับเสียงความดัง-เบา ความกลมกลืนและแตกต่างของเสียงแต่ละประเภท จากใกล้ตัวที่สุดคือชีพจรการเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวร่างกายไปถึงเสียงจากธรรมชาติและสัตว์นานา ดนตรีสากลหรือดนตรีตะวันตกมีพื้นฐานจากความมุ่งหวังไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า จากหลักปรัชญากรีกโบราณในราวช่วงปี ๘๐๐ ก่อนคริสตกาล ที่เน้นความสำคัญของการสร้างร่างกายให้แข็งแรงด้วยการเล่นกีฬา และงดงามของจิตใจด้วยศิลปะ บทกวี ดนตรี การละครและระบำรำฟ้อน เพื่อสร้างสรรค์ให้มนุษย์สมบูรณ์ ปี ๕๘๕-๔๗๙ ก่อนคริสตกาล ชาวกรีกชื่อ ปิธากอรัส คิดค้นทฤษฎีการเกิดเสียงขึ้นจากการคำนวณรอบการสั่นสะเทือน ของสายเสียง ได้ข้อสรุปว่า "ถ้าสายสั้นกว่าจะได้เสียงที่สูงกว่า ถ้าสายยาวกว่าจะได้เสียงที่ต่ำกว่า" วิชาความรู้และ แนวคิดนี้กระจายแพร่หลาย ชื่อเสียงปิธากอรัสเลื่องลือทั่วยุโรป

มีการจำแนกเครื่องดนตรีเป็น ๔ ประเภท
๑. เครื่องสาย-String ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส พิณ กีตาร์ แบนโจ แมนโดลินบาลาไลกาสืบประวัติเครื่องตระกูลไวโอลินได้ว่ากำเนิดมาจากต้นตอคือ ซอรีเบ็คและซอวิแอล ซึ่งเป็นซอโบราณ ในสมัยกลาง และซอลิราดาบรัชโช สมัยเรอเนซองซ์ ค.ศ.๑๖๐๐-๑๗๕๐ นับเป็นยุคทองของการประดิษฐ์ ไวโอลินที่ได้รับการดัดแปลงปรับปรุงจนมีคุณภาพสูงถึงขีดสุดยอด

2. เครื่องเป่าลมไม้ - Woodwind ได้แก่ ฟลุ้ต พิโคโล คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน อิงลิชฮอร์น แซ็กโซโฟน รีคอร์เดอร์ แพนไปพ์ ปี่สกอต ออร์แกน(แบบดั้งเดิม) ***บเพลงปาก ยกตัวอย่างฟลุ้ต เครื่องดนตรีที่เก่า
แก่ที่สุด พัฒนามาพร้อมกับอารยธรรมมนุษย์ แรกเริ่มทีเดียวมนุษย์ในยุคหินคงหากระดูกสัตว์หรือเขากวางเป็นท่อนกลวง หรือไม่ก็ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่าให้เกิดเสียงต่างๆ วัตถุเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้

3. เครื่องเป่าทองเหลือง - Brass ได้แก่ ทรัมเป็ต คอร์เนท เฟรนช์ฮอร์น ทรอมโบน ทูบา ซูซาโฟน ยูโฟเนียม ยกตัวอย่าง ทรัมเป็ต ประวัติมาไกลถึงแถบเอเชียซึ่งปรากฏหลักฐานว่าชาวจีนเคยใช้แตรที่มีลักษณะคล้ายทรัมเป็ต มานานกว่า ๔๐๐๐ ปี ขณะชาวยุโรปใช้แตรที่มีลำโพงงอเป็นขอในกองทัพ สมัยโบราณยุโรปถือว่าทรัมเป็ต เป็นของสูง ผู้ที่จะมีได้หากไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ก็เป็นนักรบชั้นแม่ทัพ

๔. เครื่องกระทบ - Percussion ได้แก่ กลองเล็ก กลองใหญ่ กลองเทเนอร์ กลองบองโก กลองทิมปานี ไชนีส บ็อกซ์ กรับสเปน ฉาบ ไซไลโฟน ยกตัวอย่างกลองทิมปานี มีต้นกำเนิดแถวอาระเบีย ชาวอาหรับสมัยก่อนจะผูกกลอง ๒ ลูกบนหลังอูฐ สำหรับตีประโคมเวลายกทัพออกศึกหรือยามเคลื่อนคาราวาน แขกมัวร์เป็นผู้นำกลองชนิดนี้เข้ายุโรป กลายพันธุ์เป็นเครื่องดนตรีสากลด้วยประการฉะนั้น

ประเภทของ

เครื่องดนตรีสากล

เครื่องดนตรี” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า เป็นเครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก และรื่นเริงได้ตามทำนองเพลง

ประเภทของเครื่องดนตรีสากล

        เครื่องดนตรีสากล ในปัจจุบันนิยมแบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้

         ๑. กลุ่มเครื่องสาย (String Instruments)

       ๑.๑ เครื่องสายประเภทใช้คันสี ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย ไวโอลีน (Violin) วิโอลา (Viola) เซลโล (Cello) และดับเบิลเบส (Double Bass)

       ๑.๒ เครื่องสายประเภทเครื่องดีด (Plucked String) ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย ฮาร์พ Harp)ลูท (Lute) กีต้าร์(Guitar) แมนโดลิน (Mandolin) และ แบบโจ Banjo)

         ๒. กลุ่มเครื่องลมไม้ (Wood Wind Instruments) เครื่องดนตรีกลุ่มเครื่องลมไม้ยังแบ่งได้อย่างกว้าง ๆ เป็น ๒ ประเภทคือประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่า(Blowing into a tube) และประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้นของเครื่องดนตรี (Blowing through a reed) เครื่องลมไม้ประเภทขลุ่ย ยังแบ่งตามลักษณะของการเป่าได้ ๒ ประเภทคือ ประเภทเป่าตรงปลาย เช่น ขลุ่ยเรคคอร์เดอร์ ประเภทเป่าด้านข้าง เช่น ฟลูต และปิคโคโล

         ๒.๑ เครื่องดนตรีประเภทปี่ลิ้นคู่ (Double reed) ได้แก่ โอโบ (Oboe) คอร์ แองเกลส์ (Cor Anglais or English horn) บาสซูน (Bassoon) และคอนทราบาสซูนหรือดับเบิลบาสซูน (Contra Bassoon or Double Bassoon)

         ๒.๒ เครื่องดนตรีประเภทปี่ลิ้นเดียว (Single Reed) ประกอบด้วย  คลาริเนต (Clarinet) เบส คลาริเนต (Bass Clarinet) และ) แซกโซโฟน (Saxophone)

         ๓. กลุ่มเครื่องเป่าประเภทโลหะ หรือเครื่องเป่าทองเหลือง (Brass Wind Instruments) ประกอบด้วย เฟรนช์ฮอร์น (France horn) ทอมโบน (Trombone)

ทรัมเปต  (Trumpet)คอร์เนต (Cornet) ฟลูเกิลฮอร์น (Flugelhorn) ยูโฟเนียม (Euphonium) ทูบา (Tuba) และ ซูซาโฟน (Sousaphone)

         ๔.กลุ่มเครื่องกระทบหรือเครื่องตีประกอบจังหวะ (Percussion Instruments)

        ๔.๑ เครื่องดนตรีมีระดับเสียงแน่นอน ได้แก่ ระฆังราว (Tubular Bells) มาริมบา (Marimba) ไซโลโฟน (Xylophone) และ ไวปราโฟน (Vibraphone)

        ๔.๒ เครื่องดนตรีมีระดับเสียงไม่แน่นอน ประกอบด้วย ฉาบ (Cymbals) ไทรแองเกิล หรือ กิ่ง (Triangle) มาราคัส (Maracas) คาบาซา (Cabaza) กลองใหญ่ (Bass drum) กลองเล็ก (Snare drum) กลองทิมปานี (Timpani) กลองชุด (Drum set) คองก้า(Conga) กลองบองโก (Bongos) แทมบูรีน(Tambourine) และ คาวเบลส์ (Cowbells)

         ๕. กลุ่มเครื่องคีย์บอร์ด (Keyboard Instruments) ประกอบด้วย ) เปียโน (Piano)ออร์แกน (Organ) ฮาร์ปสิคอร์ด (Harpsichord) คลาวิคอร์ด (Clavichord) และแอกคอร์เดียน (Accordion)
http://wbp.thaidances0845451271.googlepages.com

เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย (String Instruments)

เครื่องสาย เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงโดยการสั่นสะเทือนของสายลวด เชือก เอ็น หรือไนลอน และมีตัวกำธรเสียง ทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังมากขึ้น คุณภาพของเสียงขึ้นอยู่กับรูปร่าง และวัตถุที่ใช้ทำ การสั่นสะเทือนของสายอาจทำได้โดยการสี หรือ ดีดโดยอาจกระทำโดยตรง หรือเพิ่มกลไกให้ยุ่งยากขึ้น เครื่องสายที่พบเห็นในปัจจุบัน นิยมใช้วิธีทำให้เกิดเสียงได้ 2 วิธี คือ วิธีสี และวิธีดีด

ดับเบิลเบส



      ดับเบิลเบส (Double bass) มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น สตริงเบส (String Bass) คอนทราเบส (Contra Bass) เบสวิโอล (Bass Viol) ดับเบิลเบสเป็นเครื่องดนตรีที่ที่นิยมเล่นใน วงออร์เคสตรา และ วงเครื่องสาย ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน อันประกอบไปด้วยไวโอลิน วิโอล่า เชลโล และ ดับเบิลเบส มีความสูงมาตรฐานประมาณ 74 นิ้ว ดับเบิ้ลเบสเป็นเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียวที่อาจจะกล่าวได้ว่ามีความสัมพันธ์กับซอวิโอล (Viol) อย่างแท้จริง โดยสืบทอดมาจาก Violone ซอวิโอลขนาดใหญ่ (Big Viol) ซึ่งเล่นในช่วงเสียง 16 ช่วงเสียง (เสียงของมันจะต่ำกว่าโน้ตที่เขียน 1 ช่วงเสียง)

เชลโล


         Cello คือชื่อย่อของ Violoncello ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายที่มีความโค้งมนเช่นเดียวกับไวโอลินและวิโอล่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เชลโลมีพัฒนาการของรูปทรงที่หลากหลายกว่าจะเป็นดังเช่นที่เห็นในปัจจุบัน และต้องใช้เวลานานกว่าจะเป็นที่ยอมรับในฐานะเครื่องดนตรีสำหรับการแสดงเดี่ยว
หลายคนเชื่อว่า เชลโล มีที่มาจากคำว่า Viol ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เชลโลเริ่มปรากฏขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในยุคบารอค จากเครื่องสายในตระกูลไวโอลิน ในขณะที่เครื่องดนตรีต่างๆ ที่มีรูปทรงคล้ายไวโอลินในสมัยนั้นมีแพร่หลายอยู่แล้ว เช่น ซอ Viol และ Rebec แต่ไวโอลินเป็นตระกูลเครื่องสายที่แยกออกมาจากเครื่องดนตรีเหล่านั้น
ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาเชลโลมีการเปลี่ยนแปลงขนาดมาโดยตลอด แต่องค์ประกอบโดยทั่วไปแล้วแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย Antonio Stradivari เป็นช่างทำไวโอลินคนแรกที่กำหนดขนาดมาตรฐานของเชลโลสมัยใหม่ขึ้น เชลโลในยุคก่อนๆ นั้นมีขนาดความยาวประมาณ 80 ซม. ซึ่งไม่สะดวกต่อการเล่นเท่าใดนัก จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1707 เขาใด้ปรับขนาดเชลโลให้สั้นลงเหลือเพียง 75 ซม. ซึ่งทำให้เล่นได้สะดวกขึ้น

วิโอลา

       วิโอลา เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายที่มีรูปร่างคล้ายไวโอลิน แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่า นิยมเล่นใน วงออร์เคสตรา และ วงเครื่องสาย ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน อันประกอบไปด้วยไวโอลิน วิโอล่า เชลโล และ ดับเบิลเบส โดยวิโอลามีระดับเสียงต่ำกว่า ไวโอลิน แต่สูงว่าเชลโลและดับเบิลเบส

ไวโอลิน

         ไวโอลิน   ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดไวโอลินได้ปรากฏขึ้นเมื่อช่วงเวลาใด แต่คาดว่าปรากฏขึ้นครั้งแรกในประเทศอิตาลีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเชื่อกันว่าผู้ผลิตนั้นดัดแปลงมาจากเครื่องดนตรียุคกลาง 3 ชนิด อันได้แก่ เรเบค (rebec) ซอเรอเนซองซ์ (the Renaissance fiddle) และ ลีรา ดา บรากโก (lira da braccio) ซึ่งเครื่องดนตรีทั้ง 3 ชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับไวโอลิน แต่หลักฐานที่แน่นอนที่สุดก็คือ มีหนังสือที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับไวโอลินในปี พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1556) แล้ว โดยได้ตีพิมพ์ที่เมืองลีออน ประเทศฝรั่งเศส และคาดว่าช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ไวโอลินน่าจะเผยแพร่ไปทั่วทวีปยุโรปแล้ว
ไวโอลินที่ถือว่าเป็นคันแรกของโลกถูกสร้างขึ้นโดย อันเดร์ อมาตี (Andrea Amati) ในช่วงครึ่งศตวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการว่าจ้างของครอบครัวเมดิซี ซึ่งต้องการเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ต่อมาด้วยคุณภาพที่ดีของเครื่องดนตรี พระเจ้าชาลส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ อันเดร์ ประดิษฐ์ไวโอลินขึ้นมาอีก เพื่อมาเป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประเภทใหม่ของวงออร์เคสตราประจำของพระองค์ และไวโอลินที่เก่าแก่สุดและยังให้เห็นอยู่ คือไวโอลินที่ อันเดร์ ประดิษฐ์ขึ้นในเมืองเครโมนา (Cremona) ประเทศอิตาลี ซึ่งได้ถวายแด่ พระเจ้าชาลส์ที่ 4 เช่นกันตรงกับปี พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566)
แต่ไวโอลินที่น่าจะเก่าแก่และโด่งดังที่สุดน่าจะเป็นไวโอลินที่มีชื่อว่า เลอ เมสซี่ (Le Messie) หรือ Salabue ประดิษฐ์โดย อันโตนิโอ สตราดีวารี เมื่อปี พ.ศ. 2259 (ค.ศ. 1716) ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ Ashmolean Museum แห่ง อ๊อกซฟอร์ด

เบส

        


          เบส เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ในทางสากลสามารถเรียกได้ทั้ง electric bass (เบสไฟฟ้า)
electric bass guitar (กีตาร์เบสไฟฟ้า) หรือเรียกสั้นๆว่า bass (เบส) ลักษณะของเบสจะมีรูปร่างใหญ่กว่ากีตาร์ มีโครงสร้างของคอที่ใหญ่และยาวกว่า มีย่านความถี่เสียงต่ำ มีหน้าที่โดยหลักๆในการให้จังหวะ คือคุมจังหวะตาม rhythm, line, pattern และ groove ของดนตรี ในขณะเดียวกันก็สามารถขยายระดับความสามารถการเล่นให้สูงขึ้นตามแนวเพลงและการประยุกต์ใช้ต่างๆ เช่น เทคนิคการ Slap หรือการตบเบส (รวมไปถึงเทคนิคอื่นที่ใช้ร่วมกันกับการ Slap) ในดนตรี Funk, Jazz และอีกหลายแนว การจิ้มสาย การโซโล่ การเล่น Harmonics การเล่น Picking เป็นต้น
เบสไฟฟ้าจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดหลังเครื่องดนตรีอื่นๆในประเภทวงสตริงคือสร้างขึ้นหลัง กีตาร์ กลอง คีย์บอร์ดหรือซินธิไซเซอร์ (รายละเอียดจะมีในหัวข้อประวัติของเบส) เครื่องดนตรีประเภทเบสที่ใช้กันในวงดนตรีและแนวต่างๆก็จะมี เบสไฟฟ้า เบสโปร่งไฟฟ้า fretless bass (เบสไม่มีเฟรต) และ double bass, upright bass บ้างทีก็เรียกกันว่า acoustic bass แต่ก็มีภาษาพูดเรียกกันติดปากสำหรับนักดนตรีบางคนว่า เบสใหญ่
เบสไฟฟ้าที่ใช้โดยทั่วไปจะมี 4 สาย 5 สาย และ 6 สาย ส่วนสายที่มากไปกว่านี้ก็มีเนื่องจากนักดนตรีบางคนอาจจะออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้ทางการเล่นเฉพาะตัว
เบส 4 สายการตั้งสายตามมาตรฐานคือ E-A-D-G (เรียงจากต่ำ-สูง) เบส 5 สายคือ B-E-A-D-G ส่วน 6 สายคือ B-E-A-D-G-C แต่อย่างไรก็ตามเบสก็ได้ถูกขยายขอบเขตออกไปตามแนวคิดและการประยุกต์ใช้ของมือเบสต่างๆ จำนวนสายก็อาจจะมีอื่นๆอีก เช่น 3 สาย, 7 สาย, 8 สาย ,9 สาย เป็นต้น

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กีต้าร์ไฟฟ้า



      กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง จัดเป็นพวกเครื่องสาย มักจะเล่นด้วยนิ้วมือซ้าย และดีดด้วยนิ้วมือขวาหรือใช้ปิ๊กดีดกีตาร์ เสียงของกีตาร์นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย ทำให้เกิดกำทอน (resonance) แก่ตัวกีตาร์และคอกีตาร์
กีตาร์นั้น มีทั้งแบบกีตาร์อะคูสติก และกีตาร์ไฟฟ้า บางตัวก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง กีตาร์มีส่วนตัวเป็นกล่องกำทอน ซึ่งในกีตาร์อะคูสติกจะเจาะเป็นช่อง ส่วนกีตาร์ไฟฟ้ามักจะตัน และมีโพรงในส่วนคอกีตาร์ โดยทั่วไปแล้วส่วนหัวของกีตาร์จะยืดขึ้นไปจากคอ เพื่อใส่ลูกบิดหมุนสายสำหรับปรับเสียง
กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้แพร่หลาย และใช้กับดนตรีหลากหลายสไตล์ นับเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้บรรเลงเดี่ยวอย่างกว้างขวางที่พบเห็นมากที่สุดคือกีตาร์คลาสสิก และยังเป็นเครื่องดนตรีหลักในวงดนตรีประเภทบลูส์ และดนตรีร็อกอีกด้วย กีตาร์สามารถเล่นในยามว่าง หรือ เป็นงานอดิเรก ได้ดี
ปกติกีตาร์จะมี 6 สาย แต่แบบ 4- 7- 8- 10- 12- สายก็มีเช่นกัน ผู้ประดิษฐ์กีตาร์จะเรียกว่า luthier

เครื่องดนตรีประเภทกลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind)

         เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้แบ่งอย่างกว้างๆ ได้ 2 ประเภทคือขลุ่ยและปี่ ถ้าเป็นประเภทขลุ่ยจะไม่มีลิ้น เป่าลมผ่านท่อในลักษณะของการผิว  เช่น ฟลุ้ต  พิคโคโล  ถัาเป็นประเภทปี่จะต้องเป่าลมผ่านลิ้น ซึ่งมีทั้งลิ้นคู่ เช่น บาสซูน  โอโบและลิ้นเดี่ยว  เช่น คลาลิเน็ต  แซ็กโซโฟน เป็นต้น

รีคอร์ดเดอร์ (RECORDER)

โซปรานิโน เดสแคนท์ เทร็บเบิ้ล เทเนอร์ เบส


        รีคอร์ดเดอร์ เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องลมไม้ นิยมเล่นมากในศตวรรษที่ 16 และ 17 และได้รับการพัฒนาเรื่อยมา รีคอร์ดเดอร์มีรูสำหรับใช้นิ้วปิดเปิด 8 รู ลำตัวจะเป็นทรงกรวย เดิมทำด้วยไม้ ในยุคหลังมีการใช้วัสดุชนิดอื่นมาผลิตแทนไม้ เช่น พลาสติก หรือเรซิน มีปากเป่าลักษณะเหมือนกับนกหวีด คุณภาพเสียงของรีคอร์ดเดอร์จะนุ่มนวลบางเบา สดใส

ฟลุ๊ต (Flute) และ ฟลุ๊ต-ปิดโคโล (Flute-Picolo)

  


     ฟลุ้ต เป็นเครื่องดนตรีอยู่ในกลุ่มเครื่องลมไม้ มีท่อกลวง เกิดเสียงโดยการเป่าลมผ่านส่วนปากเป่า ผู้เล่นต้องถือฟลุ้ตให้ขนานกับพื้น ฟลุ้ตในระยะแรกทำด้วยไม้ ปัจจุบันฟลุ้ตทำด้วยโลหะ เสียงของฟลุ้ตในระดับสูงมีความแจ่มใส เสียงในระดับต่ำมีความนุ่มนวล

คลาริเน็ต (Clarinet)

        คลาริเน็ต เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ ใช้ลิ้นเดี่ยว   คลาริเน็ตมีใช้อยู่หลายชนิด เช่น บีแฟล็ตคลาริเน็ต  เบสคลาริเน็ต    อีแฟลตคลาริเน็ต เป็นต้น  ลำตัวปี่คลาริเน็ตมีทั้งที่ทำด้วยไม้ หรือเรซิน ลำตัวปี่จะกลวง  เปลี่ยนระดับเสียงโดยใช้นิ้วและคีย์โลหะบุนวมปิดเปิดรู  ปี่คลาริเน็ตจะมีรูปร่างคล้ายกับโอโบ  แตกต่างกันที่ปากเป่า (กำพวด) คุณภาพเสียงของปี่คลาริเน็ต จะมีช่วงเสียงกว้างและทุ้มลึก  มีนิ้วพิเศษที่ทำเสียงได้สูงมากเป็นพิเศษ

แชกโซโฟน (Saxophone)

           

            เครื่องดนตรีในตระกูลแซกโซโฟนทั้งหมดจะใช้กำพวดที่มีลิ้นเดี่ยวเหมือนกับคลาริเน็ต  แต่ลำตัวจะเป็นทรงกรวยเหมือนโอโบ ลำตัวทำด้วยโลหะเหมือนเครื่องทองเหลือง ปากลำโพงจะโค้งงอย้อนขึ้นมา  เสียงของแซ็กโซโฟนเป็นลักษณะผสมผสาน มีทั้งความพริ้วไหว  ความกลมกล่อมและความเข้มแข็งปะปนกัน   แซ็กโซโฟนมีหลายขนาด แต่ละขนาดมีระดับเสียงต่างกัน ดังนี้
           โซปราโน  แซ็กโซโฟน  (ระดับเสียงบีแฟล็ต)
           อัลโต  แซ็กโซโฟน  (ระดับเสียงอีแฟล็ต)
           เทนเนอร์  แซ็กโซโฟน (ระดับเสียงบีแฟล็ต)
           บาริโทน  แซ็กโซโฟน  (ระดับเสียงอีแฟล็ต)
           เบส  แซ็กโซโฟน ( ระดับเสียงบีแฟล็ต)
           ซับคอนทร้าเบส  แซ็กโซโฟน ( ระดับเสียงบีแฟล็ต และอีแฟล็ต)

บาสซูน (bassoon)

     บาสซูน คือเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องลมไม้  อยู่ในตระกูลโอโบมีลิ้นคู่  สามารถบรรเลงได้ตั้งแต่ระดับเสียงบาริโทนจนถึงระดับเสียงเบส  โดยปกติจะนำไปใช้บรรเลงโน้ตในระดับเสียงต่ำ บาสซูนเป็นเครื่องดนตรีสำคัญอีกเครื่องหนึ่งในวงควอเต็ท  สำหรับเครื่องลมไม้ ซึ่งประกอบขึ้นด้วย ฟลุ้ต  คลาริเน็ต  โอโบ และบาสซูน  คุณภาพเสียงของบาสซูนในช่วงเสียงสูงจะแหลม  เสียงในช่วงกลางจะทึบ กลวง ไม่หนักแน่น  ส่วนมากแล้วมักจะใช้เสียงของบาสซูนแสดงถึงความตลกขบขัน บาสซูนที่นำมาผสมวงดนตรีในปัจจุบันมี 2 ชนิด ได้แก่
            Bassoon
            Contrabassoon หรือ Double bassoon

โอโบ (Oboe)



         โอโบ คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้  โอโบและเครื่องดนตรีอื่นๆ ในตระกูลโอโบ เช่นบาสซูน และอิงลิซฮอร์นเป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ้นคู่  ลำตัวโอโบเป็นรูปทรงกรวยทำด้วยไม้  แบ่งเป็น 3 ท่อน เวลาจะใช้ต้องต่อเข้าด้วยกัน  มีรูสำหรับใช้นิ้วปิดเปิด 6 รู และมีคีย์โลหะบุนวมต่อเป็นระบบกลไกเชื่อมโยงสำหรับปิดเปิดรูอีกด้วย  คุณภาพเสียงของโอโบมีความแหลมเสียดแทงและมีลักษณะเป็นเสียงนาสิก       คำว่าโอโบที่ใช้ในปัจจุบันนี้มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ใช้ในการแสดง โอเปร่า   ฝรั่งเศส เรียกว่า “hautbois” ในศตวรรษที่ 18 โอโบใช้เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงออร์เคสตร้า เป็นเครื่องดนตรีเสียงสูงในกลุ่มเครื่องลมไม้  ซึ่งในขณะนั้นมีรูปิดเปิด เพียง 2 – 3 รูเท่านั้น

เครื่อดนตรีประเภทกลุ่มเครื่องกระทบ (Percussion Instrument)

 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบ ได้แก่ เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงจากการตี  การสั่น  การขูด การเขย่า  การเคาะ เครื่องตีกระทบประกอบขึ้นด้วยวัสดุของแข็งหลายชนิด เช่น โลหะ ไม้ หรือแผ่นหนังขึงตึง  เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบแบ่งตามคุณลักษณะของเสียงที่เกิดได้เป็น 2 ชนิด คือ
                  มีระดับเสียงแน่นอน  (Definite Pitch)  ได้แก่ กลองทิมปานี ไวบราโฟน มาริมบา
                  ่มีระดับเสียงไม่แน่นอน  (Indefinite Pitch)  ได้แก่ กลองชนิดต่างๆ แทมโบริน มาราคา ฉาบ
  

ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้
  1. กลอง (Drum), ทิมพานี(Timpani)
  2. ฉาบ (Cymbol), ฆ้อง (Gong)
  3. เบลลีลา (Bellela), ไซโลโฟน (Xylophone)
  4. มาราคัส แทมโปลิน
  5. คาสทาเนทหรือกรับสเปน (Castanet)

ฆ้อง (Gong)


     ฆ้อง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัชชันทำด้วยโลหะที่มีหลายรูปแบบ คำว่าฆ้องนั้นมีที่ว่าจากภาษาชวา ปรากฏการใช้ฆ้องในหลายชาติในทวีปเอเชีย เช่น จีน อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย เป็นต้น ปัจจุบันฆ้องเข้าไปมีส่วนในดนตรีตะวันตกด้วยเช่นกัน
ฆ้องในดนตรีไทย
     ฆ้อง เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี มีหลายขนาดและประเภท บางชนิดเป็นเพียงเครื่องตีให้สัญญาณ เช่น ฆ้องกระแต ใช้ตีบอกสัญญาณเข้าเวรยาม, ฆ้องชัย ใช้ตีบอกสัญญาณในกองทัพสมัยโบราณ เป็นต้น บางท้องถิ่นเรียกว่า โหม่ง

ทิมพานี(Timpani)

    กลองทิมปานีหรือแคทเทิลครัมนี้ มีรูปทรงคล้ายกับลูกบอลผ่าครึ่ง โดยที่ด้านหนึ่งจะขึงด้วยหนังวัว แต่ปัจจุบันหนังของทิมปานีเป็นพลาสติค มีหลายขนาดด้วยกัน แต่ที่ใช้กันทั่วไปก็จะใช้กันตั้งแต่ 2-4 ใบ เสียงของกลองทิมปานีคล้ายกับเสียงฟ้าร้องหรือเสียงฟ้าผ่า คีตกวีจึงใช้เสียงของกลองทิมปานีบรรยายบรรยากาศของพายุฟ้าคนอง

กลอง ( Drum )


            กลองใหญ่ คือ เครื่องตีกระทบ มี 2 หน้า ขึงด้วยหนังกลอง  กลองใหญ่ที่ใช้ในวงออร์เคสตร้าจะมีขนาดใหญ่ที่สุดกว่า 32 นิ้ว  ถ้าใช้ในวงโยธวาทิต จะมีขนาดตั้งแต่ 24 – 32 นิ้ว  ตีด้วยไม้ตี ปลายไม้ข้างหนึ่งทำเป็นปมไวัสำหรับใช้ตีกระทบกับหนังกลอง ปมนั้นอาจหุ้มด้วยสักหลาด ไม้ก็อก ผ้านวมหรือฟองน้ำ  เสียงกลองตีเน้นย้ำจังหวะเพื่อให้เกิดวามหนักแน่นหรืออาจจะใช้รัวเพื่อให้เกิดความตื่นเต้น  รัวเพื่อสร้างจุดสนใจในบทเพลงเพิ่มขึ้นก็ได้
           บทเพลงสำหรับวงครื่องเป่า (Wind Band) ในปัจจุบันจะมีการกำหนดให้กลองใหญ่ตีในลีลาจังหวะที่สลับซับซ้อนมากขึ้น กลองแต่ละขนาดจะมีแนวบรรเลงโดยเฉพาะ เมื่อบรรเลงพร้อมกันจะทำให้เกิดสีสันของลีลาจังหวะขึ้น

ฉาบ(Cymbal)

          ฉาบ คือเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ทำด้วยโลหะทองเหลือง มีหลายแบบ ทั้งฉาบแบบฝาเดียว และแบบสองฝา   แต่ละแบบยังมีหลายขนาดอีกด้วย  ฉาบแต่ละแบบมีลักษณะการตีแตกต่างกันออกไป   เสียงของฉาบทำให้เกิดความตื่นเต้นเร้าใจ  ความสนุกสนาน  และความอึกทึกครึกโครม ฉาบที่ใช้โดยทั่วๆไปมีดังต่อไปนี้
           
  ฉาบ 2 ฝา (Cymbals)
ใช้บรรเลงในวงดนตรีทั่วๆไป เช่น วงโยธวาทิต วงซิมโฟนิค วงออร์เคสตร้า
 
  ฉาบส่ง (Crash Cymbal)
ลักษณะเป็นฉาบฝาเดียว วางบนขาตั้งฉาบ เสียงดังอึกทึก ตีตอนเริ่มท่อนเพลงใหม่ หรือตอนจบที่ต้องการสีสันแบบสนุกสนาน อึกทึกครึกโครม เร้าใจ
 
  ฉาบไรด์ (Ride Cymbal)
ลักษณะเป็นฉาบฝาเดียว วางบนขาตั้งฉาบ สีสันของเสียงจะบางเบากว่าฉาบส่ง ใช้ตีคลอในบทเพลงเมื่อเวลาต้องการเสียงฉาบให้ดังค้างแบบต่อเนื่อง
 
  ฉาบสแปลช (Splash Cymbal)
ลักษณะเป็นฉาบฝาเดียวขนาดเล็ก วางบนขาตั้งฉาบ ขนาดเล็กประมาณ 9-12 นิ้ว  ใช้ตีในส่วนที่ต้องการเน้นเสียงฉาบ แต่ไม่ต้องการให้ดังแบบอึกทึกครึกโครมเหมือนฉาบส่ง  ทำให้บทเพลงเกิดสีสันที่น่าสนใจ แปลกหู
 
  ฉาบนิ้วมือ (Finger Cymbals)
ลักษณะเป็นฉาบขนาดเล็กคล้ายกับฉิ่งของดนตรีไทย คล้องบนนิ้วมือ ขยับให้เกิดเสียงตามลีลาจังหวะเพื่อประกอบการเต้นระบำ  ใช้มากในประเทศตะวันออกกลาง และอินเดีย
 
  ฉาบไฮแฮท (Hi-Hat Cymbals)
ักษณะเป็นฉาบ 2 ฝา วางประกบกันบนขาตั้งฉาบไฮแฮทโดยเฉพาะ ตีได้ทั้งขณะที่เปิดฝาฉาบทั้งสองแยกออกจากกัน (open hi-hat)  และปิดฝาฉาบให้ชิดกัน(close hi-hat) โดยใช้เท้าเหยียบที่กลไกของขาตั้ง  ฉาบไฮแฮทจะมีรูปแบบการตีที่แน่นอน  แต่ละลีลาจังหวะจะมีการกำหนดลักษณะการตีฉาบไฮแฮทไว้ชัดเจน

  

ไซโลโฟน (Xylophone)

        ไซโลโฟน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบ(Percussion Instruments)ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch)  เป็นระนาดไม้ขนาดเล็กของดนตรีตะวันตก ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับมาริมบา หรือไวบราโฟน แต่ขนาดเล็กกว่า  ลูกระนาดทำด้วยไม้เนื้อแข็ง  ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง

เครื่องเป่าทองเหลือง (Brass Instruments)

     เครื่องเป่าทองเหลือง (Brass Instruments)เครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องลมทองเหลืองนี้เรียกรวม ๆ ว่ากลุ่มแตร ส่วนประกอบที่สำคัญของ เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ คือ ท่อลมทำด้วยโลหะขนาดต่าง ๆ กันการเกิดเสียงเกิดจากการเป่าลมให้เกิดการสั่น สะเทือนที่ริมฝีปากของผู้เล่น

ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้
  1. ทรัมเป็ท (Trumpet)
  2. คอนเน็ท (Cornet)
  3. เฟรนช์ ฮอร์น (French Horn)
  4. ทรอมโบน (Trombone)
  5. แซ็กฮอร์น (Saxhorn)
  6. ซูซาโฟน (Sousaphone)
  7. ทูบา (Tuba)
  8. ยูโฟเนียม (Euphonium)

เฟรนช์ฮอร์น (France horn)


เฟรนช์ฮอร์น (France horn)                  ปัจจุบันเรียกว่า “ฮอร์น” ต้นกำเนิดของฮอร์นคือเขาสัตว์ ฮอร์นที่เก่าแก่ที่สุดคือ โชฟาร์ (Shofar) ของชาวฮิบรู ทำด้วยเขาแกะ เฟรนช์ฮอร์นเป็นแตรที่มีช่วงเสียงกว้างถึง 3 ออคเทฟครึ่ง มีท่อยาวประมาณ 12-15 ฟุต แต่นำมาขดเป็นวงโค้งไป
มาเพื่อให้สะดวกแก่ผู้เป่าจนเหลือความยาวจากปากเป่าถึงปากลำโพงเพียง 20 นิ้ว เสียงของเฟรนช์ฮอร์น สดใส สง่า จัดว่าเป็นพระเอกในบรรดาเครื่องลมทองเหลือง นักแต่งเพลงหลายคนใช้เสียงของเฟรนซ์ฮอร์นบรรยายความงามของธรรมชาติเช่น ท้องทะเลครามอันกว้างใหญ่ไพศาล และหุบเขาที่มีเสียงสะท้อนก้องกลับไปกลับมา เนื่องจากท่อลมมีขนาดยาวมากการบังคับริมฝีปากในการเป่าจึงเป็นเรื่องยาก 

ทรอมโบน (Trombone)



ทรอมโบน (Trombone)      เป็นแตรซึ่งใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ในพิธีศาสนาและพิธียุรยาตราร่วมกับแตรโบราณ ทรอมโบนประกอบด้วยท่อลมสวมซ้อนเลื่อนเข้า –ออกได้ (Telescopic slide) ขนาดยาวโค้งได้สองทบ สองในสามของท่อลมนี้เป็นท่อทรงกระบอกเช่นเดียวกับ ทรัมเปตส่วนที่เหลือค่อย ๆ บานออกเป็นปากลำโพง ส่วนที่เป็นท่อลมทรงกระบอกจะเป็นท่อสองชั้นสวมกันไว้ในลักษณะรูปตัว U เลื่อนเข้าออกเพื่อปรับระดับเสียง เมื่อเลื่อนออกจะยาวประมาณ 9 ฟุต แต่เมื่อเลื่อนเข้า จะเหลือเพียง 3 ฟุตเศษ ทรอมโบนมีเสียงทุ้ม ห้าว ไม่สดใส เหมือนทรัมเปต ปัจจุบันนิยมช้แพร่หลายในวงดนตรีชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกันทรัมเปตประกอบด้วยเทเนอร์ทรอมโบน (Tenor Trombone)และ เบสทรอมโบน (Bass Trombone)

ทรัมเปต (Trumpet)


         ทรัมเปต (Trumpet) ในสมัยโบราณชาวยุโรปถือว่าแตรทรัมเปตเป็นของคนชั้นสูงผู้
ที่จะมีสิทธิเป็นเจ้าของแตรชนิดนี้ได้ต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านายชั้นสูงหรือไม่ก็นักรบชั้นแม่ทัพ
สามัญชนไม่มีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของแตรชนิดนี้ ทรัมเปตเป็นแตรที่มีท่อลมรูปทรงกระบอกขนาด
ของท่อลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว โค้งงอทบกันเป็นสามทบ ติดลูกสูบเพื่อใช้บังคับเสียง3 อัน
( 3 valve) อยู่ตรงกลางลำตัว ผู้เป่าจะใช้นิ้วขวาบังคับลูกสูบทั้งสามโดยการกดลงหรือผ่อนให้ขึ้นแนว
ตั้ง กำพวด (Mouthpiece) ของทรัมเปตเป็น “กำพวดรูปถ้วยหรือระฆัง” ซึ่งทำให้แตร ทรัมเปต
สามารถเล่นเสียงสูงได้สดใสแผดกล้าให้ความรู้สึกตื่นเต้นได้ดีแต่ถ้าเล่นเสียงต่ำจะให้ความนุ่มนวล
ลักษณะคล้ายเสียงกระซิบกระซาบได้ดีเช่นเดียวกันบางครั้งผู้เป่าต้องการลดเสียงของแตรให้เบาลงทำให้
เกิดเสียงที่แปลกหูก็สามารถใช้ “มิวท์” (Mute) สวมเข้าไปในปากลำโพงของแตร ในปัจจุบัน ทรัมเปต
เป็นแตรที่แพร่หลายและใช้ในวงดนตรีเกือบทุกประเภท

คอร์เนต (Cornet)



        คอร์เนต (Cornet) คอร์เนตคือเครื่องเป่าทองเหลืองที่มีลักษณะคล้ายกับทรัมเปต
แต่ลำตัวสั้นกว่าคุณภาพของเสียงมีความนุ่มนวลกลมกล่อมแต่ความสดใสของเสียงน้อยกว่าทรัมเปต
คอร์เนตถูกนำมาใช้ในวงออร์เคสตราครั้งแรกประมาณ ค.ศ. 1829 ในการแสดงโอเปร่าของ
Rossini เรื่อง William Tell ในปัจจุบันคอร์เนตเป็นเครื่องดนตรีสำคัญสำหรับวงโยธวาทิตและแตรวง

ทูบา (Tuba)

        

          ทูบา (Tuba) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลแซกฮอร์น ซึ่งอดอล์ฟ แซก ได้ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ
ปี 1845 แตรตระกูลแซกฮอร์น มีหลายขนาดเรียกชื่อต่าง ๆ กันตามขนาด เช่น บาริโทน ยูโฟเนียม
การผลิตให้มีหลายขนาดก็เพื่อจะให้มีแตรหลาย ๆ ระดับ เสียงเพื่อใช้ในวงแตรวง และวงโยธวาทิต ส่วน
ที่ใช้ในวงออร์เคสตรา ซึ่งมีมาแต่เดิม และนิยมใช้มากที่สุดคือ ทูบา
     ทูบามีท่อลมขนาดใหญ่ และมีความยาวตั้งแต่ 9 ,12,14,16 และ 18 ฟุต แล้วแต่ขนาด
มีช่วงเสียงกว้าง 3 ออคเทฟ เศษ ๆ ท่อลมเป็นทรงกรวย เช่นเดียวกับฮอร์น ส่วนกลางลำตัวติดลูกสูบ
บังคับเสียง 3 อัน หรือ 4 อัน เสียงของทูบาต่ำลึกนุ่มนวล ไม่แตกพร่า เสียงต่ำมากที่เรียกว่า “เพดัล โทน” (Pedal tones) นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ปกติแตรทูบาทำหน้าที่เป็นแนวเบส ให้แก่กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง

เครื่องดนตรีประเภทมีลิ่มนิ้ว (Keyboard Instrument)

       ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้
  1. ออแกน (Organ)
  2. เมโลเดี้ยน (Melodian)
  3. เปียโน (Piano)
  4. แอคคอเดียน (Accordion)
  5. ฮาปซิคอร์ด
  6. อิเล็คโทน (Electone)

ออแกน (Organ)



      ออร์แกน (organ)  เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ออร์แกนมีประวัติในการประดิษฐ์ที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยโรมัน และมีความสำคัญควบคู่มากับศาสนาคริสต์เลยทีเดียว คำว่า Organ นั้น ก็มาจากภาษาละติน Organum ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Hydraulis ต้นกำเนิดเสียงของออร์แกนมาจากลม ซึ่งมีแหล่งกำเนิดหลายวิธีซึ่งในสมัยโบราณก็ต้องใช้แรงคนในการผลิตลม เมื่อลมถูกบังคับให้ไหลผ่านท่อที่มีขนาดต่างๆกันก็จะเกิดเสียงที่มีความถี่แตกต่างกัน ท่อที่ใช้ในการสร้างออร์แกนนั้น อาจจะเป็นไม้ หรือโลหะ ก็ได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีเสียงที่แตกต่างกัน และออร์แกนหนึ่งเครื่อง สามารถทำเสียงต่าง ๆ ได้เท่า ๆ กับเครื่องดนตรีหลายชิ้นมารวมกัน ดังนั้น ออร์แกนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแนวทำนอง และแนวเดินเบส โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องดนตรีอื่นใด ดังนั้น ในสมัยก่อนนั้น ออร์แกนจึงถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งปวง
ออร์แกนได้รับฉายาว่าเป็นราชาแห่งเครื่องดนตรีตะวันตก เนื่องจากมีความซับซ้อนในการประดิษฐ์ และขนาดที่ใหญ่ ออร์แกนที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ แอตแลนติกซิตีคอนเวนชันฮอล ที่เมืองแอตแลนติกซิตี รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา ซี่งมีจำนวนไปป์ถึง 33,000 ไปป์

เมโลดิกา(Melodica)

     เมโลดิกา ( melodica) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทมีลิ่มนิ้ว มีลักษณะผสมผสานระหว่างหีบเพลงชัก (แอกคอร์เดียน) กับหีบเพลงปาก (ฮาร์โมนิกา) ทำงานโดยเป่าลมผ่านท่อ โดยตัวท่อนั้นจะอยู่บริเวณด้านข้างของตัวเมโลดิกา วิธีการทำให้เกิดเสียงก็คือเป่าลมและกดคีย์บอร์ดไปพร้อมๆกัน จะเป็นการทำให้เกิดเสียง
เมโลดิกาออกแบบโดยบริษัท Hohner ซึ่งเป็นบริษัทขายเครื่องดนตรี ผู้ผลิตหีบเพลงชัก และฮาร์โมนิกาที่มีชื่อเสียง ในช่วงทศวรรษ 1950

เปียโน (Piano)


      เปียโน เป็นเครื่องดนตรีขนาดใหญ่ที่สร้างเสียงเมื่อคีย์ถูกกดและกลไกภายในเครื่องตีสาย คำว่าเปียโนเป็นตัวย่อของคำว่า ปีอาโนฟอเต(pianoforte)-ออกเสียงว่า (ปี-อ๊า-โน่-ฟอ-เต้) ซึ่งเป็นคำภาษาอิตาเลียนที่แปลว่า "เบาดัง" มาจากความสามารถของเปียโนที่จะปรับความดังเบาตามแรงที่กดคีย์
ในฐานะเครื่องสาย เปียโนมีความคล้ายคลึงกับคลาวิคอร์ด (clavichord) และฮาร์ปซิคอร์ด (harpsichord) จะแตกต่างกันเพียงวิธีการสร้างเสียง สายฮาร์พซิคอร์ดจะถูกดีดหรือเกาโดยขนนก ส่วนสายของคลาวิคอร์ดจะถูกเคาะด้วยกลไกที่จะยังคงสัมผัสกับสายอยู่ตลอดเวลาหลังการเคาะ เพื่อบังคับความถี่ของการสั่น ส่วนสายเปียโนถูกเคาะด้วยลิ่มที่สะท้อนกลับในทันที เพื่อให้เกิดการสั่นของสายอย่างเป็นอิสระ
เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่ำสำคัญในดนตรีคลาสสิกตะวันตก ดนตรีแจ๊ซ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และดนตรีอีกหลายรูปแบบ เปียโนยังเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่ชนชั้นกลางและชนชั้นสูง

แอคคอเดียน (Accordion)

       
        แอ็คคอร์เดียน (Accordion) เป็นเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด เกิดเสียงโดยการดันลมให้ผ่านลิ้นโลหะ มีลิ่มนิ้วกดเหมือนอย่างเปียโน ขณะที่เล่นจะต้องนำสายสะพายเครื่องไว้บนไหล่ ตัวเครื่องอยู่ด้านหน้า มือข้างซ้ายชักถุงลมเข้าออกพร้อมกับเล่นปุ่มเสียงเบส  มือข้างขวากดที่ลิ่มนิ้วเพื่อเล่นแนวทำนองเพลง เล่นคอร์ด และเสียงประกอบทำนองอื่นๆตามต้องการ
 

ฮาร์ปซิคอร์ด

      ฮาร์ปซิคอร์ด เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ในยุคบาโรค ประเภทเครื่องดีด โดยมีการพัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภทพิณ และกีตาร์ กลไกการเกิดเสียงจะใช้การเกี่ยวดึงสายโลหะซึ่งมีขนาด และความยาวแตกต่างกันเพื่อให้ได้เสียงความถี่ต่างๆ การเล่นเครื่องดนตรีนี้จะใช้ คีย์บอร์ด (Keyboard) ในการสร้างกลไกในการดึงสาย โดยผู้เล่นสามารถเลือกกดบนแป้นคีย์บอร์ด ซึ่งจะคล้ายคลึงกับการเล่น เปียโน (Piano) แต่จะมีคีย์บอร์ดสองชั้น เหมือน ออร์แกน (Organ) ผู้เล่นไม่สามารถปรับความดังของเสียงได้ด้วยน้ำหนักของการกดคีย์บอร์ด แต่สามารถใช้กลไกอื่นช่วยในการสร้างความแตกต่างของคุณภาพเสียง (Acrustic Quality)
ในยุคบาโรคมีการเล่นเครื่องดนตรีนี้อย่างแพร่หลายในบทเพลงประเภทเดี่ยว และวง สำหรับประเภทเดี่ยวได้มีผู้ประพันธ์เพลงที่มีบทบาทสำคัญได้แก่ บาค แฮนเดล สกาลัตตี คูโน แต่งเพลงไว้มากมาย โดยเฉพาะสกาลัตตีได้แต่เพลงประเภท โซนาตา ไว้เป็นจำนวนมาก และเป็นบทเพลงที่มีความซับซ้อนในด้านเทคนิคการเล่นอย่างสูง สำหรับประเภทวง เครื่องดนตรีนี้สามารถเล่นร่วมกับเครื่องดนตรีอื่นๆได้ วงออเครสตราในยุคนั้นได้กำหนดให้มีการเล่นดนตรีประเภท บาสโซคอนทินิวโอ (Basso Continuo) ไม่ได้เฉพาะเครื่องดนตรีเบสอย่างเดียว แต่ได้มีการใส่สัญลักษณ์เป็นตัวเลขเอาไว้เพื่อให้ฮาร์ปซิคอร์ดเล่นประกอบด้วย ถ้าจะเปรียบเทียบกับการเล่นดนตรีในปัจจุบันแล้ว ฮาร์ปซิคอร์ดเป็นเหมือนกับกลองชุด ซึ่งเป็นตัวกำหนดจังหวะของผู้เล่นเครื่องดนตรีอื่น และที่สำคัญที่สุด ผู้อำนวยเพลง (Conductor) ในสมัยบาโรค ก็มักจะประจำที่ฮาร์ปซิคอร์ดด้วย ตัวอย่างเพลงที่สำคัญของเครื่องดนตรีนี้ได้แก่ บทเพลงประเภท ออเครสตราสวิท (Orchestra Suite) ของบาค และ เฮนเดล บราเดนบวกคอนแซโต (Brandenburg Concerto) โดยเฉพาะหมายเลขห้า มีความพิเศษที่บาคนำฮาร์ปซิคอร์ดมาเป็นเครื่องดนตรีโซโลเพื่อฉลองให้กับฮาร์ปซิคอร์ดตัวใหม่ของเขาด้วย
ในปัจจุบันก็ยังมีการเล่นฮาร์ปซิคอร์ดกันอยู่เมื่อมีการเล่นดนตรีบาโรคเพราะเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ และเทคนิคการเล่นที่ไม่สามารถหาเครื่องดนตรีอื่นมาทดแทนได้